1.วิธีการเก็บตัวอย่างปัสสาวะสุกรเก็บอย่างไร ?

 ตอบ

1. เตรียมอุปกรณ์

 

  1. 1.กระติกน้ำแข็ง
  2. 2.น้ำแข็ง
  3. 3.หลอดเก็บตัวอย่าง

 

2. วิธีการเก็บ

 

  1. 1.เก็บปัสสาวะสุกรที่มีน้ำหนักตัว 60 กิโลกรัมขึ้นไป
  2. 2.เข้าไปในคอกเพื่อไล่สุกรทั้งหมดให้ลุกขึ้น
  3. 3.ใช้น้ำราดตัวสุกรที่ต้องการเก็บปัสสาวะให้ทั่ว
  4. 4.รอสุกรปัสสาวะแล้วใช้หลอดเก็บตัวอย่างรองปัสสาวะให้ได้ประมาณ 40 CC
  5. 5.เขียนชื่อเจ้าของฟาร์มและอำเภอที่ถุงซิปใส่เก็บตัวอย่าง (ใช้ปากกาเคมีที่ลบไม่ได้)
  6. 6.นำหลอดที่ได้ใส่กระติกน้ำแข็ง ส่งกลุ่มงานพัฒนาคุณภาพสินค้าปศุสัตว์

 

3. ข้อควรระวัง

 

  1. 1.เก็บปัสสาวะไม่ควรให้สิ่งสกปรกที่ติดตัวสุกรเข้าไปในหลอดเก็บตัวอย่าง เพราะจะทำให้ผลตรวจเป็นบวก
  2. 2.ห้ามใช้อุปกรณ์อื่นๆในการรองปัสสาวะ ต้องใช้หลอดเก็บตัวอย่างที่ให้ไปเท่านั้น
  3. 3.หลอดปัสสาวะที่เก็บได้ ห้ามโดนแสงโดยตรง
  4. 4.หลอดที่ใช้แล้วห้ามนำมาใช้ใหม่อีก
  5. 5.หลอดปัสสาวะที่เก็บได้แล้วหลังจากเสร็จจากงานต้องนำไปแช่ช่องแช่แข็งเท่านั้น

 

4. กรณีที่ผลตรวจเป็นบวก

 

ต้องเข้าไปเก็บปัสสาวะฟาร์มเดิมซ้ำอีกครั้ง

 

5. วิธีการเก็บอาหาร

 

  1. 1.ใช้ถุงซิปพลาสติกเก็บอาหารที่เลี้ยงสุกรขุน จำนวน 2 ถุง
  2. 2.กรอกรายละเอียดตามแบบฟอร์มการเก็บตัวอย่างอาหาร พร้อมทั้งลายมือชื่อเจ้าของฟาร์ม ที่แบบเก็บอาหารสัตว์และบนซองเก็บอาหารทุกครั้ง

 

 

 

2. เชื้อไวรัสไข้หวัดนก สายพันธุ์ A(H7N9) คืออะไร?

 

คำตอบ เชื้อไวรัสไข้หวัดนก โดยปกติแล้วมักจะเกิดในสัตว์ปีก โดยบางสายพันธุ์ ของไวรัสไข้หวัดนก เช่น

 

สายพันธุ์ H7N2, H7N3 และ H7N7 พบว่ามีการติดเชื้อได้ในมนุษย์ แต่พบไม่บ่อยนัก และยังไม่เคยพบการ

 

ติดเชื้อไข้หวัดนก สายพันธุ์ H7N9 ในมนุษย์มาก่อน จนกระทั่งได้รับรายงานจากประเทศจีนในเดือนมีนาคม

 

2556 ที่ผ่านมา

 

3.ทั่วโลก เคยพบผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ ชนิด H7 มาก่อนหรือไม่?

 

คำตอบ ตั้งแต่ปี พ..2539 จนถึง พ..2555 พบรายงานการติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ ชนิด H7 ในประเทศ

 

แคนาดา อิตาลี แม็กซิโก เนเธอร์แลนด์ อังกฤษ และสหรัฐอเมริกาโดยสายพันธุ์ของเชื้อที่พบ คือ H7N2,

 

H7N3, และH7N7 ซึ่งพบว่าการติดเชื้อส่วนใหญ่มีความสัมพันธ์กับการระบาดในสัตว์ปีก โดยการติดเชื้อ

 

มักทำให้เกิดอาการผู้เยื่อบุตาอักเสบ และอาการในระบบทางเดินหายใจส่วนบนเล็กน้อย ยกเว้น มีรายงาน

 

ผู้เสียชีวิต 1 รายในประเทศเนเธอร์แลนด์ จากรายงานก่อนหน้านี้ จนถึงในเดือนมีนาคม 2555 ยังไม่มีการ

 

รายงานพบผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสไข้หวัดนก สายพันธุ์ A(H7N9) มาก่อน

 

 

4.โรคปากและเท้าเปื่อยคืออะไร ?

 

 

 

โรคปากและเท้าเปื่อย (foot-and-mouth disease, FMD) เป็นโรคติดต่อเฉียบพลัน ทำให้เกิดไข้สูง และเม็ดตุ่มน้ำใสพุพองที่ช่องปากและไรกีบเท้า โรค

นี้มีสาเหตุจากเชื้อไวรัสซึ่งแบ่งได้เป็น 7 ชนิด แต่จะตรวจได้โดยอาศัยห้องปฏิบัติการเท่านั้น

 

5.โรคปากและเท้าเปื่อยติดต่อได้อย่างไร ?

 

พบเชื้อไวรัสปริมาณมากในน้ำจากเม็ดตุ่มน้ำใส น้ำลาย มูลสัตว์ การปนเปื้อนกับสิ่งคัดหลั่งเหล่านี้เป็นอันตรายต่อสัตว์เลี้ยง สัตว์เป็นโรคจะขับไวรัสได้

แก่นที่จะพบอาการป่วยการกระจายไปทางอากาศในระยะทางไกลสามารถเกิดขึ้นได้ในภูมิอากาศที่เอื้ออำนวย แต่ในประเทศไทยซึ่งอยู่ในเขตศูนย์สูตร มี

อากาศร้อนอบอ้าว การแพร่กระจายวิธีนี้มีความสำคัญน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับการแพร่กระจายโดยการปนเปื้อนพาหะ

สัตว์จะรับเชื้อไวรัสโดยการสัมผัสโดยตรงกับสิ่งปนเปื้อน หรือสัมผัสกับส่วนของซากสัตว์ติดเชื้อ

โรคแพร่กระจายออกไปโดยการเคลื่อนย้ายสัตว์ บุคคล ยานพาหนะ หรือสิ่งใดก็ตามที่สัมผัสเชื้อไวรัส การปนเปื้อนจะผ่านลงสู่แหล่งกระจายโรค เช่น

ถนน ทำเลสาธารณะ ฯลฯ ซึ่งจะทำให้โรคแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็ว

รองเท้าบูท เสื้อผ้า มือ ของผู้เลี้ยง สุนัข แมว เป็ดไก่ หนู ที่สัมผัสแหล่งปนเปื้อนจะสามารถนำพาเชื้อไวรัสไปได้